บทความทางศิลธรรมและวัฒนธรรม โดย เรือลอยอังคาร สัตหีบ บริการลอยอังคาร โทร.033-147689 มือถือ 095-7233739
บทความทางศิลธรรมและวัฒนธรรม กองทัพเรือ
สำหรับญาตมิตรผู้มาติดต่อลอยอังคาร และบุคคลทั่วไปเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต (บริการลอยอังคารทัศนศึกษาฐานทัพเรือสัตหีบ)
(ลอยอังคาร โทร.033-147689 มือถือ 095-7233739 ธุการ กอง สน.กฝร. LINE ID:033147689)
แก้กรรม
- เมื่อพูดถึงการแก้กรรม อาจทำให้นึกถึงพิธีกรรมแปลก ๆ เช่นให้คนเข้าไปนอนในโลงศพบ้างพิธีบังสุกุลเป็นบังสุกุลตายบ้าง เพื่อจะแก้บาปกรรมไม่ให้ส่งผลร้ายแก่ตนหรือให้ผลร้ายนั้นเบาบางที่สุดซึ่งจะให้ผลจริงแค่ไหนก็ยากจะพิสูจน์ แม้ทำแล้วจะรู้สึกสบายใจบ้าง แต่ความสบายใจนั้น ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการมุ่งแก้ไขที่เหตุ เพื่อให้เกิดผลที่ดีอย่างสมบูรณ์เท่าใดนักตามหลักธรรม กรรม แปลว่า การกระทำ แก้กรรม ก็คือแก้การกระทำ โดยเฉพาะการกระทำที่ผิดให้ถูก การกระทำที่เป็นบาปให้เป็นบุญ การกระทำที่เสื่อมให้เจริญ เช่น แก้ความเกียจคร้านให้เป็นความขยัน แก้ความฟุ่มเฟือยให้เป็นความประหยัด แก้ความคดโกงให้เป็นความซื่อสัตย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ เมื่อต้นเหตุดีแล้ว ผลคือวิบากย่อมดีไปด้วย ชีวิตก็เป็นไปด้วยความราบรื่น ที่ทุกข์ก็คลายทุกข์ ที่สุขแล้วก็สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป การแก้กรรมที่ตรงประเด็นจึงมิได้มีอะไรที่สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนแต่อย่างใดและการแก้กรรมตามหลักธรรมนี้ นอกจากเป็นการแก้ที่ถูกจุดแล้ว ยังเท่ากับฝึกให้ผู้ปฏิบัติรู้จักพึ่งตัวเองทำให้เป็นคนมีปัญญา ตระหนักในเหตุและผลไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างงมงาย และทำให้รู้จักรับผิดชอบตัวเองอย่างดีที่สุด ใครทำกรรมใดไว้ก็ต้องรับผิดชอบกรรมนั้น เป็นการดำเนินชีวิตบนเส้นทางของความจริงที่เป็นเหตุเป็นผล ตรวจสอบได้ แก้ไขได้ ควบคุมชีวิตของตนเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ใช่เอาชีวิตไปฝากไว้กับอะไรก็ไม่รู้ที่แม้ตนเองก็ไม่เข้าใจ พิสูจน์ไม่ได้การแก้กรรมทุกอย่างล้วนเป็นเจตนาที่ดี เพราะอย่างน้อยก็เป็นจิตสำนึกในทางที่จะคิดแก้ไขของผู้ปฏิบัติ แต่จะศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ถ้าหากว่าผู้มีศรัทธาต่อการแก้กรรมนั้น จะเลือกวิธีแก้กรรมที่ต้นเหตุจริง ๆคือแก้ที่การกระทำของตนด้วย ส่วนพิธีกรรมอื่นถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ในแง่ใดแง่หนึ่ง จะสมัครใจทำ ก็ไม่ถึงกับเป็นข้อห้ามแต่อย่างใด
เรื่อง อาหารใจ
- เรื่องใหญ่เรื่องวุ่นวายที่ไม่รู้จักจบสิ้นในชีวิตประจำวัน คือ เรื่องอาหาร เช่น ก่อนจะไปตลาดก็ต้องคิดว่าจะกินอะไรจะซื้ออะไร เรื่องของการกินจะหมุนเวียนซ้ำซากอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้จะเบื่อแสนเบื่อก็จะต้องทำต้องกินเพราะอาหารเป็นปัจจัยที่จำเป็นแก่ชีวิต ร่างกายจะเจริญเติบโตและสมบูรณ์แข็งแรงได้ก็เพราะอาหารบำรุงอยู่เสมอ อาหารที่กล่าวถึงนี้เป็นอาหารส่วนร่างกายยังมีอาหารอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่าอาหารใจ ส่วนมากคนมักจะมองข้ามไปเสีย วันหนึ่ง ๆ ก็วุ่นวายอยู่กับอาหารกาย คนให้ความสนใจกับอาหารใจน้อยมาก ความจริงแล้วอาหารใจมีความจำเป็นมากกว่าอาหารกายเสียด้วยซ้ำไปอาหารกายรับประทานเพียงวันละ ๓ มื้อ แต่อาหารใจต้องรับประทานอยู่ตลอดเวลา คนที่ขาดอาหารใจ จะทำให้รู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร บางครั้งทำให้รู้สึกกำหนัดรักใคร่ต่ออารมณ์ที่เข้ามายั่วยวนกวนใจบางคราวทำให้รู้สึกหงุดหงิดฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยหาหลักไม่ได้ อาการเหล่านี้เป็นอาการที่ใจขาดอาหาร ร่างกายที่ขาดอาหารจะทำให้ผ่ายผอมอ่อนระโหยโรยแรง ทำการงานอะไรก็ไม่สำเร็จประโยชน์ ฉันใด ใจที่ขาดอาหาร ก็ฉันนั้นอาหารใจ หมายถึง อารมณ์ที่เกิดกับใจ มี ๒ อย่าง คือ อารมณ์ฝ่ายเสียกับอารมณ์ฝ่ายดี อารมณ์ฝ่ายเสีย เช่น ความละโมบโลภมาก ความเศร้าหมองขุ่นเคือง ความริษยาพยาบาท เหล่านี้เป็นอารมณ์ฝ่ายเสีย ทำให้เป็นพิษเป็นภัยแก่จิตใจ เป็นเชื้อโรคที่ทำลายแรงใจ ทำให้จิตใจทรุดโทรม ส่วนอารมณ์ฝ่ายดี เช่น ความมานะพยายาม ความต่อสู้อดทน ความซื่อสัตย์สุจริตความร่าเริงแจ่มใส ความเมตตากรุณา เหล่านี้เป็นอารมณ์ฝ่ายดี ถ้าใจได้ดื่มด่ำอยู่กับอารมณ์เหล่านี้ โรคร้ายทั้งหลายก็จะไม่มากล้ำกราย จิตใจก็จะเข้มแข็งสมบูรณ์ สามารถประกอบกิจการงานด้วยความผาสุกโปรดอย่าลืมเตือนตัวเองว่า วันนี้ท่านให้อาหารใจของท่านหรือยัง
เรื่อง กงเกวียนกำเกวียน
---------------
- คำว่า กงเกวียนกำเกวียน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียนครั้งพุทธกาล มีพระเถระรูปหนึ่งบำเพ็ญกรรมฐานอย่างหนักไม่ยอมหลับนอนตลอดพรรษา ๓ เดือน ทำให้ตาบอดสนิททั้งสองข้าง พระพุทธเจ้าได้แสดงกรรมเก่าว่า ในอดีตชาติ พระเถระเคยเป็นหมอตารักษาตาสตรีผู้หนึ่งหายแล้ว แต่สตรีนั้นแกล้งทำเป็นยังไม่หาย เพราะกลัวจะต้องเสียค่าขวัญข้าว หมอรู้ทันจึงปรุงยากัดตาไปหยอดตาสตรีนั้นจนบอดทั้งสองข้าง ด้วยกรรมนั้นจึงตามมาให้ผลในชาตินี้ และได้ตรัสว่าถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว จะพูดก็ชั่ว จะทำก็ชั่ว เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลนั้นไป ดุจล้อตามรอยเท้าโคที่นำแอกไป
- พระพุทธพจน์ที่ว่า ถ้ามีใจชั่วแล้วพูดและทำก็ชั่วไปด้วยนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะคำพูดและการกระทำ ย่อมออกมาจากจิตใจเสมอ แต่การที่ทุกข์ติดตามผู้กระทำไปดุจล้อตามรอยเท้าโคนั้นมองเห็นได้ลำบาก เนื่องจากการติดตามของทุกข์บางอย่าง โดยเฉพาะกรณีข้ามภพข้ามชาติมีห้วงเวลาห่างจากกรรมที่ก่อไว้มาก ทำให้ยากต่อการเข้าใจ จนบางคนไม่ยอมรับว่าเป็นผลกรรม แต่เห็นว่าเป็นเหตุบังเอิญก็มีไม่น้อย เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงได้นั่นเอง
- เวรกรรมในทัศนะทางพระพุทธศาสนานั้น ไม่ว่าใครจะเข้าใจอย่างไรก็ตาม เมื่อก่อหรือทำขึ้นแล้วก็จะกลายเป็นกงเกวียนกำเกวียนหมุนติดตามผู้กระทำไป ดังนั้น ในฐานะที่เราทั้งหลายล้วนเป็นทายาทแห่งกรรมหนีกรรมที่ก่อแล้วไม่พ้น จึงไม่ควรหลงระเริงในการก่อกรรมทำชั่ว เพราะไม่คุ้มเลยกับผลกรรมที่จะได้รับไม่ว่าจะเป็นชาตินี้หรือชาติหน้า
คุณธรรมค้ำจุนโลก
มีคำสอนทางศาสนาคำหนึ่งที่มีการเอ่ยถึงบ่อยๆ และเป็นที่ยอมรับกันในสังคมอย่างกว้างขวางคำนั้นก็คือคำว่า “โลโกปัตถัมภิกา เมตตา” ซึ่งแปลว่า เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก คำนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนิพนธ์ไว้เมตตา หมายถึง ความรักความเอื้ออาทรระหว่างกัน เป็นคุณธรรมสำคัญที่ช่วยให้มองกันในทางที่ดี รู้จักยกย่องชมเชยและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้สังคมปลอดจากเบียดเบียนกันได้ ปัญหามีอยู่ว่าทำอย่างไรคนถึงจะมีความรักความเอื้ออาทรระหว่างกัน หรือพูดถึงกันในทางบวก ตลอดจนยกย่องชมเชยและให้เกียรติกันอย่างแท้จริง เรื่องนี้ ในทางปฏิบัติอาจทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่นักปราชญ์ท่านแนะไว้ก็คือ เมื่อเราอยากได้สิ่งใดจากใครเราต้องแสดงสิ่งนั้นต่อเขาก่อนเสมอ ตามหลักที่ว่า “ผู้นับถือย่อมได้รับการนับถือตอบ ผู้เคารพย่อมได้รับการเคารพตอบ ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ และผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ” หลักการทำดีก่อนคนอื่นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงคุณความดีของผู้ปฏิบัติได้หลายประการ ที่สำคัญก็คือคนที่จะทำเช่นนั้นได้ต้องเป็นคนไม่ถือทิฐิมานะหรือกระด้างถือตน ในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงคุณความดีของคนอื่นด้วย กล่าวคือหากเขามีการแสดงสิ่งที่ดีๆ ตอบก็แน่นอนว่าเป็นผู้มีคุณธรรมเช่นเดียวกัน เพราะในโลกนี้นอกจากคนพาลแล้ว สาธุชนโดยทั่วไป เมื่อเห็นคนอื่นแสดงความดีกับตนแล้วก็ย่อมจะแสดงความดีตอบเสมอ อย่างไรก็ตาม ในหลายโอกาสความรักความเอื้ออาทรระหว่างกันนี้ ก็เกิดขึ้นเองเมื่อเห็นคนอื่นเป็นทุกข์ เช่น ประสบภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งเป็นคุณความดีที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการค้ำจุนโลกอย่างแท้จริงโลกของเรานี้ถึงจะพัฒนาให้เจริญด้วยวัตถุเพียงใด แต่หากผู้คนไร้เมตตาต่อกันแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นสภาพที่ต่างคนต่างอยู่ ผู้ที่ประสบทุกข์ก็จะทุกข์ต่อไป ส่วนผู้ที่เป็นสุขก็จะสุขคนเดียวโดยไม่เหลียวแลคนอื่นที่เดือดร้อนแต่ที่โลกมิได้มีสภาพเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด เพราะโลกนี้ยังมีผู้ค้ำจุนไว้ด้วยเมตตาธรรมนั่นเอง
เรื่อง เวลาของเรา
มีผู้คำนวณการใช้เวลาของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งประมาณอายุขัย ๗๐ ปีว่า มนุษย์จะใช้เวลานอนประมาณ ๒๔ ปี ศึกษาและทำงานประมาณ ๒๐ ปี พักผ่อนและรื่นเริงประมาณ ๙ ปี รับประทานอาหารประมาณ ๖ ปี เดินทางประมาณ ๒ ปี เจ็บป่วยประมาณ ๕ ปี แต่งกายประมาณ ๓ ปี และทำพิธี
ทางศาสนาประมาณ ๑ ปี ข้อมูลนี้ถึงจะไม่ถูกตรงหมดสำหรับทุกคน แต่ก็เป็นเครื่องเตือนใจได้
เรื่องเวลานี้ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีส่วนกำหนดพัฒนาการของสรรพสิ่งในโลกและเปรียบเหมือนทรัพยากรที่มีจำกัด ไม่สามารถเก็บสะสมไว้ใช้ในวันต่อไป หมดแล้วก็หมดเลย จึงต้องใช้อย่างรู้คุณค่า และการรู้คุณค่าของเวลานั้น มีผู้ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพว่า หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ ปี ให้ถามนักเรียนที่สอบตก หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ เดือน ให้ถามแม่ที่อุ้มท้องรอเวลาคลอด หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ สัปดาห์ ให้ถามบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ วัน ให้ถามคนงานรายวันที่มีลูกเล็ก ๆ ต้องเลี้ยงดู หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ ชั่วโมง ให้ถามคนที่กำลังรอคอยคนรัก หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ นาที ให้ถามคนที่พลาดรถไฟเที่ยวนั้น หากต้องการรู้คุณค่าของเวลา ๑ วินาที ให้ถามคนที่เพิ่งรอดตายจากอุบัติเหตุมาได้อย่างหวุดหวิด หากต้องการรู้คุณค่าของเวลาแค่เสี้ยววินาที ให้ถามนักวิ่งที่ได้เหรียญเงินถ้าเอ่ยขึ้นลอย ๆ ว่าเจ็ดสิบปีก็ฟังดูเหมือนนานมาก แต่ถ้าแยกแยะดังที่มีผู้คำนวณข้างต้นจะเห็นว่าเอาเข้าจริง ๆ เวลาที่จะเอามาทำสิ่งเป็นสาระแก่ชีวิตนั้นมีไม่มากเลย ผู้ไม่ประมาทจึงควรคิดเสมอว่าจะทำอะไรบ้างกับเวลาของเรา ก่อนที่เวลานั้นจะไม่มีอีกต่อไป
เรื่อง ข้อคิดจากตราสังข์
เวลาคนตายก่อนที่จะนำศพเข้าโลง สัปเหร่อจะผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ ด้วยด้ายดิบ เรียกว่า “ตราสัง” โดยทั่วไปจะมัดศพเป็น ๓ เปลาะ คือ ที่คอ ที่มือ และที่เท้า ขณะที่มัดศพ สัปเหร่อจะร่ายคาถา ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจว่าเพื่อเป็นการสะกดวิญญาณคนตายไม่ให้ดุร้ายหรือมาหลอกหลอนผู้คน
เมื่อเริ่มมัดศพที่คอ สัปเหร่อจะร่ายคาถาว่า ปุตโต คีเว มัดศพที่มือจะร่ายคาถาว่า ภริยา หัตเถ และมัดศพที่เท้าจะร่ายคาถาว่า ธนัง ปาเท ความจริงแล้ว คาถาที่สัปเหร่อร่ายนั้น เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ความหมายไม่เกี่ยวกับการสะกดวิญญาณแต่อย่างใด แต่จุดประสงค์ของคนโบราณท่านต้องการสอนปริศนาธรรมแก่คนเป็นต่างหาก กล่าวคือ
๑. ปุตโต คีเว แปลว่า ลูกเป็นบ่วงผูกคอ คือเริ่มผูกตั้งแต่รู้ว่าลูกมาปฏิสนธิ ทั้งพ่อและแม่ก็พยายามประคับประคองทุกอิริยาบท จะกลืนอะไรลงคอสักคำก็เป็นห่วงลูก คอยระวังไม่ให้กระทบกระเทือนลูกในท้อง คลอดออกมาก็ยิ่งเป็นห่วง แม้จะเติบโตแล้วก็ยังไม่หมดห่วง คือจะทำอะไรก็ต้องคล้อยตามกันแบบจูงกันไป และต้องคอยเหนี่ยวรั้งกันและกันไว้ ด้วยกลัวลูกจะคบเพื่อนเลว ติดยาเสพติด เป็นต้น
๒. ภริยา หัตเถ แปลว่า สามีภรรยาเป็นบ่วงผูกมือ คือจะทำอะไรก็ต้องคล้อยตามกันแบบจูงกันไป และต้องคอยเหนี่ยวรั้งกันและกันไว้ด้วย มีปัญหาเกิดขึ้นก็ต้องปรึกษากัน บางครั้งอาจจะขัดแย้งกระทบกระทั่งกันบ้าง เหมือนลิ้นกับฟัน ก็ให้ยึดหลักว่า อย่าให้เจ็บตัว อย่าให้เจ็บใจ อย่าให้เสียของ และอย่าให้เสียงาน เรียกว่า ทะเลาะกันอย่างมีหลักการ
๓. ธนัง ปาเท แปลว่า ทรัพย์สมบัติเป็นบ่วงผูกเท้า คือทรัพย์ที่เราหามาได้ด้วยหยาดเหงื่อและแรงงานแสนจะลำบาก เมื่อได้มาแล้วกต้องรักต้องห่วง จะย่างเท้าห่างบ้านไปไหน ก็อดห่วงหน้าพะวงหลังไม่ได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าห่วงมากจนเกิดไปสุขภาพจิตย่ำแย่ ก็ต้องปล่อยวางเสียบ้าง จิตใจจะได้ปลอดโปร่ง
ดังนั้น บ่วงทั้ง ๓ คือ บุตรธิดา สามีภริยา และทรัพย์สมบัติ จึงเป็นบ่วงของคนที่ยังข้องเกี่ยวอยู่กับโลกใครปลดบ่วงทั้ง ๓ นี้ได้หมดก็สบาย แต่เมื่อยังมีบ่วงอยู่หรือยังปลดไม่หลุด ก็ต้องปฏิบัติต่อบ่วงทั้ง ๓ ให้ถูกต้องจึงจะหาความสุขได้ตามควรแก่วิสัยของชาวโลก
มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลายินดีให้บริการ ดังนี้
- กองการฝึก กองเรือยุทธการ โทร.033-147689 มือถือ 095-7233739
- ทาง LINE ที่ ID: 033147689
- เฟสบุ๊ก : https://www.facebook.com/trainingfleet.sup
- เวปไซต์ : สวัสดิการเรือลอยอังคารและเส้นทางเข้าท่าเรือ
เรื่อง ทำดีเอาดี
พุทธภาษิตที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี้ยังมีคนเข้าใจความหมายผิดกันอยู่มาก โดยมักจะเข้าใจคำว่า ทำดีได้ดีคือทำดีแล้วต้องร่ำรวย มั่งมีเงินทอง เพราะสำคัญว่า ดีนั้น คือทรัพย์สินเงินทองผู้ที่เข้าใจว่าทำดีแล้วต้องรวยนั้น เมื่อตั้งใจทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียรแต่ไม่รวยขึ้น
ตามประสงค์ ย่อมท้อแท้ใจ หมดกำลังใจ และอาจมองเห็นในมุมกลับว่า “ทำดีแต่ไม่ได้ดี” ไม่ใช่ “ทำดีได้ดี” เสียแล้วการจะเข้าใจเรื่องทำดีได้ดีให้ถูกต้องนั้น เบื้องต้นต้องรู้จักผลของความดีเสียก่อน ผลของความดีก็คือความสุขหรือความสบายใจ ความสุข ความสบายใจนั้น มิใช่หมายถึงความร่ำรวย และก็ไม่จำเป็นต้องเกิดจากความร่ำรวยเพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีเงินทองล้นเหลือแต่ไม่มีความสุขกับเงินทองนั้นเลยก็มีอยู่เป็นอันมากและที่ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์เพราะความร่ำรวยนั่นเองก็มีอยู่มิใช่น้อย
ความสุขคือ ความสบาย ได้แก่ความที่ไม่ต้องเดือดร้อนใจเพราะไม่ได้ทำความผิด ไม่ต้องมีผู้ปองร้ายเพราะไม่เป็นศัตรูกับใครและมีใจสงบร่มเย็นเป็นนิตย์ เพราะสร้างแต่บุญกุศลคุณงามความดี เรื่องเหล่านี้จะซื้อหาด้วยทรัพย์สินไม่ได้ ขอแบ่งจากผู้ใดก็ไม่ได้ ทั้งจะนั่งนอนรอให้เกิดขึ้นเองก็ไม่ได้อีกเพราะเป็นผลซึ่งเกิดมาจากเหตุ และเหตุนั้นก็คือ การกระทำความดี กล่าวคือ การลงมือทำความดีเป็นเหตุ ความสุขเป็นผลคนแต่ก่อนท่านทำดีเอาดี คือท่านประพฤติตนอยู่ในหลักแห่งศีลธรรมอันดีเพื่อหวังผลเป็นความสุขสบายภายหลัง ได้แก่สุขใจ สบายใจ ไม่ต้องเดือดร้อนใจ ไม่ใช่ทำดีเพื่อหวังลาภผลเป็นทรัพย์สินเงินทองหรือตำแหน่งฐานะอย่างที่มักเข้าใจกัน
การทำดีเอาดี เป็นเครื่องให้เกิดความสงบใจ ส่วนการมุ่งทำดีเพื่อให้ได้ดี คือให้ได้ทรัพย์สินเงินทองเป็นของตอบแทน ไม่เป็นเครื่องให้สงบใจได้ เพราะฉะนั้นจงควรทำดีเพื่อเอาดี อย่าดีเพื่อหวังทรัพย์สิน เมื่อตั้งใจทำดีเพื่อความดีแล้วก็จะเกิดความสุขความสบายใจ ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า และความสุขเช่นนี้มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
ตามประสงค์ ย่อมท้อแท้ใจ หมดกำลังใจ และอาจมองเห็นในมุมกลับว่า “ทำดีแต่ไม่ได้ดี” ไม่ใช่ “ทำดีได้ดี” เสียแล้วการจะเข้าใจเรื่องทำดีได้ดีให้ถูกต้องนั้น เบื้องต้นต้องรู้จักผลของความดีเสียก่อน ผลของความดีก็คือความสุขหรือความสบายใจ ความสุข ความสบายใจนั้น มิใช่หมายถึงความร่ำรวย และก็ไม่จำเป็นต้องเกิดจากความร่ำรวยเพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีเงินทองล้นเหลือแต่ไม่มีความสุขกับเงินทองนั้นเลยก็มีอยู่เป็นอันมากและที่ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์เพราะความร่ำรวยนั่นเองก็มีอยู่มิใช่น้อย
ความสุขคือ ความสบาย ได้แก่ความที่ไม่ต้องเดือดร้อนใจเพราะไม่ได้ทำความผิด ไม่ต้องมีผู้ปองร้ายเพราะไม่เป็นศัตรูกับใครและมีใจสงบร่มเย็นเป็นนิตย์ เพราะสร้างแต่บุญกุศลคุณงามความดี เรื่องเหล่านี้จะซื้อหาด้วยทรัพย์สินไม่ได้ ขอแบ่งจากผู้ใดก็ไม่ได้ ทั้งจะนั่งนอนรอให้เกิดขึ้นเองก็ไม่ได้อีกเพราะเป็นผลซึ่งเกิดมาจากเหตุ และเหตุนั้นก็คือ การกระทำความดี กล่าวคือ การลงมือทำความดีเป็นเหตุ ความสุขเป็นผลคนแต่ก่อนท่านทำดีเอาดี คือท่านประพฤติตนอยู่ในหลักแห่งศีลธรรมอันดีเพื่อหวังผลเป็นความสุขสบายภายหลัง ได้แก่สุขใจ สบายใจ ไม่ต้องเดือดร้อนใจ ไม่ใช่ทำดีเพื่อหวังลาภผลเป็นทรัพย์สินเงินทองหรือตำแหน่งฐานะอย่างที่มักเข้าใจกัน
การทำดีเอาดี เป็นเครื่องให้เกิดความสงบใจ ส่วนการมุ่งทำดีเพื่อให้ได้ดี คือให้ได้ทรัพย์สินเงินทองเป็นของตอบแทน ไม่เป็นเครื่องให้สงบใจได้ เพราะฉะนั้นจงควรทำดีเพื่อเอาดี อย่าดีเพื่อหวังทรัพย์สิน เมื่อตั้งใจทำดีเพื่อความดีแล้วก็จะเกิดความสุขความสบายใจ ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า และความสุขเช่นนี้มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลายินดีให้บริการ ดังนี้
- กองการฝึก กองเรือยุทธการ โทร.033-147689 มือถือ 095-7233739
- ทาง LINE ที่ ID: 033147689
- เฟสบุ๊ก : https://www.facebook.com/trainingfleet.sup
- เวปไซต์ : สวัสดิการเรือลอยอังคารและเส้นทางเข้าท่าเรือ
เรื่อง ไม่คุ้ม
มีเรื่องเล่าว่า นักโทษคนหนึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา เมื่อสอบถามว่าเหตุใดจึงต้องฆ่าคน ได้รับคำตอบว่า เพราะความโมโหควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ เมื่อถามต่อไปว่า อะไรที่ทำให้โมโหจนควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ก็ได้รับคำตอบว่า เพราะถูกผู้ร่วมงานสบประมาทอย่างรุนแรงเรื่องดังกล่าวทำให้ได้ข้อคิดว่า บุคคลที่ต้องได้รับโทษทัณฑ์เพราะลุแก่อำนาจโทสะนี้มีมาก สาเหตุสำคัญก็เพราะขาดความยับยั้งชั่งใจไม่สามารถอดกลั้นต่อความเจ็บใจได้ ถ้าจะคิดโดยเหตุผลแล้ว การอดกลั้นต่อคำว่ากล่าวเสียดสีให้เจ็บใจหรือเสียหายนั้นอาจจะต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมากเป็นพิเศษ จึงจะทำให้หายโกรธได้ แต่ถ้าเราสนองความโกรธโดยกระทำการรุนแรงผิดกฎหมายจนต้องถูกจำคุก ๑๐ หรือ ๒๐ ปีหรือตลอดชีวิตแล้ว ดูจะไม่คุ้มกันเลย ดังคำที่ว่า “อดทนต่อความเจ็บใจเพียง ๕ นาทีน่าจะดีกว่าต้องไปอดทนในคุกตลอดชีวิต”วิธีควบคุมจิตใจเมื่อกระทบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น ท่านให้ใช้ ๓ วิธีคือ๑. นิ่ง คือเมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องที่ไม่น่าชอบใจ ให้นิ่งไว้ ไม่พูดและไม่ตอบโต้ ทำเหมือนกับไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยินอะไร การนิ่งเป็นการตั้งหลักเพื่อให้เกิดสติ เป็นการชะลอไม่ให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ แต่จะทำให้เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็ก และเรื่องเล็กกลายเป็นไม่เกิดเรื่อง
๒. นอน พยายามนอนให้หลับ เพราะเมื่อนอนหลับเสียแล้ว จิตก็จะไม่รับรู้เรื่องใด ๆ ใจก็จะเป็นปกติสุขซึ่งเป็นวิธียุติปัญหาได้วิธีหนึ่ง
๓. หนี ถ้านิ่งก็ไม่หาย นอนก็ไม่หลับ ท่านให้หนี คือหลีกเลี่ยงออกไปจากบุคคลหรือสถานที่ที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสักระยะหนึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้ได้ใช้ปัญญาพิจารณาถึงเหตุผล ทำให้เห็นทางออกที่ถูกต้องดีงาม ปัญหาดังกล่าวก็จะยุติได้ดังนั้น หากเราสามารถยับยั้งใจตนเองต่ออารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจได้ ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น เราเองก็จะไม่ต้องมานั่งเสียใจว่า ความสะใจที่ได้ทำลงไปนั้นไม่คุ้มกับสิ่งที่ต้องสูญเสียไปเลย
ปัจจุบันในการประกอบพิธีลอยอังคารนั้นทางกองการฝึก กองเรือยุทธการ ได้จัดเจ้าหน้าที่ทหารเรือ รวมทั้งเรือลอยอังคาร กร.709 ไว้บริการ สำหรับพื้นที่สัตหีบ ในจังหวัดชลบุรี บริเวณท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ในราคาสวัสดิการ 2,500 บาท โดยทางผู้ขอรับบริการเตรียมแค่อัฐิหรืออังคาร พร้อมรูป ของท่านผู้วายชนมาเท่านั้น ที่เหลือทางเจ้าหน้าที่ทหารเรือจะเตรียมไว้ให้ทั้งหมดในราคานี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม
มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเจ้าหน้าที่สวัสดิการลอยอังคารได้ตลอดเวลายินดีให้บริการ ดังนี้
- ลอยอังคาร โทร.033-147689 ธุการ กอง สน.กฝร.
- ทาง LINE ที่ ID:033147689
- เฟสบุ๊ก : https://www.facebook.com/trainingfleet.sup
- เวปไซต์:สวัสดิการเรือลอยอังคารและเส้นทางเข้าท่าเรือ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น